ดาวเทียมไทยคม
ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ลักษณะและการใช้งาน
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง
ไทยคม 1
ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
- เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
- ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 2
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 3
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายนพ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
ไทยคม 4
- ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี[1]
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
- ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
- ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทย, ลาว, กัมพูชา, พม่า, เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลี, ญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน[2]
- พื้นที่ที่ดาวเทียมไทยคม 3 เคยให้บริการ
- ทวีปแอฟริกา : แอลจีเรีย, มาลี, อังโกลา, โมร็อคโค, เบนิน, โมซัมบิก, บอตสวานา, นามิเบีย, บรูคินา ฟาโซ, ไนเจอร์, บูรุนดี, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, วันดา, แอฟริกากลาง, โซมาเลีย, ชาด, แอฟริกาใต้,คองโก, ซูดาน, สวาซิแลนด์, ดิกโบติ, แทนซาเนีย, อียิปต์, โทโก, เอธิโอเปีย, ตูนีเซีย, กาบอง, อูกันดา, กานา, ไซเร, กัวเนีย, ไอโวรี่ โคสต์, ซิมบาเบ, เคนยา, เลโซโท, ลิเบีย, มาดากัสการ์, มาลาวี
- ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บาเรน, บังกลาเทศ, ฎูฐาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, จอร์เจีย, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, คูเวต, คีรกีซ์สถาน, ลาว, เลบานอน, มาเลเซีย, มองโกเลีย, พม่า, เนปาล, โอมาน, ปาเลสไตน์, ปาปัวนิวกินี, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, กาตาร์, ซาอุดิอาราเบีย, สิงค์โปร์, ศรีลังกา, ซีเรีย, ไต้หวัน, ทาจิกิสถาน, ตุรกี, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐอาหรับ, อุซเบกีสถาน, เวียดนาม, เยเมน
- ทวีปโอเซียเนีย : ออสเตรเลีย
- ทวีปยุโรป : อัลบาเนีย, อันดอร์ร่า, ออสเตรีย, บอสเนีย, เฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, โครเทีย, ครีรัส, เช็ก, เอสโทเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีซ, ฮังการี, อิตาลี, ลัทเวีย, ลิทัวเนีย, ลักแซมเบิรก์, มาเซโดเนีย, โมนาโค, โมลโดวา, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย, รัสเซีย, เฟเดอราชั่น, เซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวาเนีย, สเปน, สวีเดน, สวิสต์เซอร์แลนด์
- ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
- ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
- ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
- ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
ไทยคม 5
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
ไทยคม 6
ไทยคม6 เป็นดาวเทียมรุ่น สร้างโดย Space Exploration Technologies (SpaceX) มีน้ำหนัก3000 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
พื้นที่ให้บริการ
ดาวเทียมไทยคม 1A และ 2
พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
[แก้]ดาวเทียมไทยคม 3
สถานะ : ปลดระวาง